เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 11.00-14.45 น. มีการจัดการอภิปรายออนไลน์เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อแนวทางแผนงานการบริการความต่อเนื่องทางธุรกิจระดับพื้นที่ ห่วงโซ่อุปทานโลกและการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของคนในท้องถิ่น (Standardization in the Field of Disaster Prevention and Mitigation Toward a Proposal for Area-BCM Framework, Global Supply Chain and Local Resilience) ผ่านทางโปรแกรมซูม และแอปพลิเคชันแปลภาษา RSI X โดยสามารถเลือกรับฟังได้เป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาญี่ปุ่น
กิจกรรมในการอภิปรายออนไลน์ดังกล่าวประกอบด้วยการกล่าวเปิดงานอภิปราย คำปราศรัยสำคัญ การนำเสนองานและอภิปรายจากตัวแทนจาก คณะกรรมการ ISO/TC292/SG2 สมาชิกโครงการ SATREPS Project Area-BCM(DREAM) และ สถาบันมาตรฐานญี่ปุ่น โดยมีผู้เข้าร่วมงานออนไลน์จาก ฝ่ายงานบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจจากบริษัทเอกชน หน่วยงานรัฐในท้องถิ่นเชิงพาณิชย์ นิคมอุตสาหกรรม ฝ่ายงานด้านการป้องกันภัยพิบัติ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในระดับพื้นที่และการกำหนดมาตรฐานทางอุตสาหกรรมจากหน่วยงานต่าง ๆ จากประเทศไทย ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ
การประชุมเริ่มต้นโดย รองศาสตราจารย์ อิโนะ เอริ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งนาโกย่า ต้อนรับผู้เข้าร่วมงานและแจ้งหัวข้องาน ตามด้วยการดำเนินรายการโดยศาสตราจารย์วาตานาเบะ เคนจิ จากสถาบันเทคโนโลยีนาโกย่า โดยได้กล่าวถึงภาพรวมและลำดับเนื้อหางานเสวนา ต่อจากนั้น ดร. ฮารุโอะ ฮายาชิ อธิบดีสถาบันศึกษาวิจัยธรณีวิทยาเเละบรรเทาเหตุภัยพิบัติของญี่ปุ่น (NIED) ได้กล่าวต้อนรับ ตามด้วยการกล่าวคำปราศัยสำคัญเรื่อง Security and Resilience Standardization in ISO โดย ดร.อิจิโระ นากาชิมา ประธานคณะกรรมการ ISO/TC292
ต่อจากนั้นงานอภิปรายออนไลน์นี้ได้มีการนำเสนอทั้งหมด 6 หัวข้อดังต่อไปนี้
1. Area-BCM and Its Standardization by ศาสตราจารย์วาตานาเบะ เคนจิ จาก สถาบันเทคโนโลยีนาโกย่า
2. Nissan’s BCP Scheme (Japan&Global) โดยคุณเคตะ ยามานาชิ ผู้จัดการฝ่าย BCP&SECURITY, Corporate Service Management Department บริษัท นิสสัน มอเตอร์
3. Overview of SATREPS DREAM (Area-BCM) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ ลีละวัฒน์ อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. Area Business Continuity Management by โดย ดร.ฮิโตชิ บาบา ที่ปรึกษาอาวุโส จาก องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA)
5. Overview of Kyoto BCP โดยคุณซาโตชิ ฟุนะโคชิ ผู้อำนวยการแผนกลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ รัฐบาลจังหวัดเกียวโต
6. Overview of Area-BCM in Japan โดยคุณชิเกโอะ โอตานิ ผู้จัดการอาวุโสบริษัท Ridgelinez Co.,Ltd.
และในท้ายที่สุด ศาสตราจารย์วาตานาเบะ เคนจิ เป็นผู้ดำเนินงานเสวนาเรื่องการกำหนดมาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในระดับพื้นที่และช่วงตอบคำถาม โดยมีหัวข้อการเสวนาหลัก ๆ ทั้งสิ้น 3 หัวข้อดังนี้
1. The limitations of BCP/BCM of individual organizations in the event of a large-scale wide-area disaster
2. Necessary parts to be standardized when multiple organizations conduct recovery and reconstruction activities simultaneously
3. Purposes and target users of international standardization.
งานนำเสนอและเสวนาได้นำมาซึ่งการแบ่งปันข้อมูลความรู้และประสบการณ์ เพื่อเน้นยำความสำคัญของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในระดับพื้นที่และแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติต่าง ๆ พัฒนาแนวคิดสู่มาตรฐานสากล และขยายความร่วมมือไปสู่องค์กรต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อขยายขอบเขตการกำหนดหลักเกณฑ์ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย