หลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบไฮบริดเรื่องการจัดการเหตุฉุกเฉินปี 2022 พร้อมการบรรยายสาธารณะ

Browse By

ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2565 หลักสูตรสหสาขาการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ (Risk and Disaster Management Program, RDM) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโครงการ SATREPS DREAM (Area-BCM) หน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง (Disaster and Risk Management Information Systems Research Unit (DRMIS)) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบไฮบริดเรื่องการจัดการเหตุฉุกเฉินประจำปี 2565 (Emergency Management Workshop) ซึ่งมีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ห้องหน่วยปฏิบัติการวิจัย DRMIS และออนไลน์ผ่านทางแพลตฟอร์ม ZOOM

ในการอบรมนั้นมีการจัดหัวข้อการบรรยายสาธารณะเป็นภาษาอังกฤษจากผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงหลายท่านโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ได้แก่ อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ประเทศไทย), Nagoya Institute of Technology (ประเทศญี่ปุ่น), ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ประเทศญี่ปุ่น) และ Keio University (ประเทศญี่ปุ่น) ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจซึ่งเป็นกระบวนการที่จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถยังคงดำเนินการในระดับปกติได้อยู่โดยได้รับการรบกวนเพียงเล็กน้อยในช่วงก่อน ระหว่างหรือหลังการเกิดภัยพิบัติ ในงานนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 35 ท่านตลอดระยะเวลาทั้งสิ้น 3 วันซึ่งมีจำนวน 11 ท่านที่เข้าร่วมที่สถานที่จัดอบรม

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องจัดการเหตุฉุกเฉิน

วันที่ 1 ของการอบรมเชิงปฏิบัติการจะมีการบรรยายในหลายหัวข้อ โดยเริ่มกล่าวแนะนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ (ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และ Prof. Kenji Watanabe (Nagoya Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น) การประชุมเชิงปฏิบัติการเริ่มต้นด้วยหัวข้อ “บทนำการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCM)” บรรยายโดย Prof. Kenji Watanabe ตามมาด้วยการบรรยายออนไลน์เกี่ยวกับ “บทนำการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในระดับพื้นที่ (Area-BCM)” จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และ “บทเรียนจากการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในระดับพื้นที่ของประเทศไทย: อะไรคือความสำเร็จและอุปสรรค?” โดย คุณกันฤทัย มีช้าง (Nagoya Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น) ปิดท้ายด้วยการบรรยายในหัวข้อ “การประเมินความเสี่ยงและการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ” จาก Dr. Takahiro Ono (ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ประเทศญี่ปุ่น) โดยผู้ดำเนินรายการในวันนี้คือ คุณกันฤทัย มีช้าง

หลังจากการบรรยายแล้วต่อไปเป็นการจัดกิจกรรมเวิร์กชอปสำหรับผู้เข้าร่วมในสถานที่จัดอบรมประกอบด้วยนิสิตจากหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ จุฬาฯ กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการพูดคุยสั้น ๆ เกี่ยวกับ “การจัดการเหตุฉุกเฉินและแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP)” จากนั้นจึงเป็นการทำงานกลุ่มร่วมกันที่เริ่มต้นด้วยการอภิปรายและนำเสนอในหัวข้อ “กรอบงานของแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP)” ตามด้วย “BIA: แผนภูมิเปรียบเทียบกิจกรรมที่มีการจัดลำดับความสำคัญ/ระดับผลกระทบ” และ “BIA: การกำหนดเวลาฟื้นฟู (RTO)/ ระยะเวลาสูงสุดของการหยุดชะงัก (MTPD)” ระหว่างการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมได้มีทำใบงานกลุ่มอภิปรายและนำเสนอผลงานร่วมกัน ช่วงสุดท้ายของวันแรกนั้นได้มีการจัดอภิปรายกลุ่มในหัวข้อ “การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของลูกค้า (CVCA)” ซึ่งงานในวันนี้ได้รับการช่วยเหลืออำนวยความสะดวกโดย Assoc. Prof. Akira Kodaka (Keio University ประเทศญี่ปุ่น)

วันที่ 2 ของการอบรมได้เริ่มต้นด้วยการบรรยายในหัวข้อ “ข้อจำกัดส่วนบุคคลของการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและความต้องการความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล และเอกชน (PPP) ยึดตามกรณีศึกษาของ BCM” จาก Prof. Kenji Watanabe ตามด้วยหัวข้อการบรรยายเรื่อง “บทนำของการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการพึ่งพากันของการบริหารความเสี่ยงในระดับพื้นที่ (Area-BCM)” โดย Assoc. Prof. Akira Kodaka หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมอบรมในสถานที่จัดอบรมได้อภิปรายทำใบงานร่วมกันและนำเสนอเกี่ยวกับหัวข้อ “BIA: ทรัพยากรและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับกิจกรรมที่มีการจัดลำดับความสำคัญแล้ว”, หัวข้อ “แผนภูมิเปรียบเทียบผลกระทบและความเป็นไปได้” และหัวข้อ “เอกสารประมาณความเสียหายของทรัพยากร” ตามลำดับ ในตอนท้ายผู้เข้าร่วมอบรมได้อภิปรายและนำเสนอเป็นกลุ่มร่วมกันในเรื่อง “มาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสำหรับทรัพยากรที่สำคัญ” และ “กลยุทธ์และแนวทางแก้ไขสำหรับทรัพยากรหลักและกิจกรรมที่ได้จัดลำดับความสำคัญแล้ว (PAs)” นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเรื่อง “การทำงานร่วมกันของช่วงเวลาในการประสานงาน” โดยการอบรมในวันนี้ได้รับการช่วยเหลืออำนวยความสะดวกโดย Assoc. Prof. Akira Kodaka และดำเนินรายการโดยคุณกันฤทัย มีช้าง

วันที่ 3 ของการอบรมเริ่มต้นด้วยการบรรยายสาธารณะโดย Prof. Masahiro Inoue (Keio University ประเทศญี่ปุ่น) ในชื่อหัวข้อ “การปฏิรูปทางดิจิทัลของการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมและวิชาการระหว่างประเทศ” จากนั้นผู้เข้าร่วมอบรมในสถานที่จัดอบรมได้มีการเล่นเกมส์กระดานเกี่ยวกับการเอาตัวรอดจากการอพยพสึนามิ ซึ่งผู้ดำเนินรายการในวันนี้คือ โดย Assoc. Prof. Akira Kodaka  ในตอนท้ายของวันผู้เข้าร่วมอบรมได้มีการทำแบบทดสอบ และปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการโดย ผศ. ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์

Emergency Management Workshop

การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเหตุฉุกเฉินเป็นหนึ่งในกิจกรรมทางวิชาการที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดที่จัดขึ้นในปีนี้ ด้วยความร่วมมือและการสนับสนุนที่สำคัญจากผู้เชี่ยวชาญและองค์กรจำนวนมาก การอบรมเชิงปฏิบัติการยังเป็นตัวอย่างของกิจกรรมทางวิชาการแบบผสมผสานที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 3 ประการ ได้แก่ เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 11 สร้างเมืองและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัย และเป้าหมายที่ 13 ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)