การประชุมเชิงปฏิบัติการในประเด็นการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในพื้นที่ (Area – BCM) ระยะที่ 2 ให้กับบริษัทในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ โดยโครงการ SATREPS Area-BCM

Browse By

โครงการ SATREPS Area-BCM ร่วมกับหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการจัดกการอบรมเชิงปฏิบัติการระยะที่ 2 – การจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Area-BCM) ) ในวันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566 การประชุมเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและภัยพิบัติพร้อมการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจในพื้นที่ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยบริษัทต่าง ๆ ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้จัดขึ้นที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเจ้าหน้าที่บริษัทต่าง ๆ ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ อาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันต่างๆ จากประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมสังเกตการณ์และร่วมกิจกรรม รวมจำนวน 43 ราย โดยคุณพีรดา ตั้งประเสริฐ นิสิตปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพิธีกรในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้

ในส่วนแรกของการประชุมเชิงปฏิบัติการเริ่มต้นด้วยการสรุปโดยคร่าวและสืบย้อนไปยังประชุมเชิงปฏิบัติการ Area-BCM ในระยะแรก นำโดย รศ.ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะแบ่งออกไปตามกลุ่มย่อย ซึ่งภายในกลุ่มจะทุกท่านได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และเพื่อให้เข้าใจถึงความจำเป็นสำหรับการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกทั้งในส่วนนี้ช่วยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมใหม่มีความรู้และความเข้าใจกิจกรรมไปตามแนวทางเดียวกัน

ในส่วนที่สอง ดำเนินรายการโดย Mr. Shigeo Otani จาก Fujitsu Research Institute โดยส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการประชุมเชิงปฏิบัติการในประเด็น Common Timeline โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ร่วมวิเคราะห์ข้อมูล พิจารณาจังหวะเวลาของการตัดสินใจในแต่ละระยะ ตลอดจนข้อมูลที่จำเป็น และทรัพยากรภายนอกที่คาดว่าจะขาดแคลน นอกจากนี้ Prof. Akira Kodaka จากมหาวิทยาลัย Keio ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานของเครื่องมือสำหรับการวางแผนตวามต่อเนื่องทางธุรกิจ ตลอดจนแนะนำสถานการณ์จำลองต่าง ๆ อีกด้วย โดยมีกระบวนกรจากสมาชิก Item 3 ช่วยสนับสนุนการแต่ละกลุ่ม โดยเน้นที่ขั้นตอนการเตรียมการ การเตือนภัย และการเคลื่อนย้าย


ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทำงานร่วมกันตั้งแต่การเตรียมการไปจนถึงการฟื้นฟู ตลอดจนวางแผนงานโดยให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ สวนอุตสาหกรรม ตลอดจนการบริหารภาครัฐในท้องถิ่นโดยเน้นการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการกระจายทรัพยากรเพื่อให้การจัดการดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยการอภิปรายผลลัพธ์นี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเขียนลงกระดาษโพสต์อิท จากนั้นแต่ละกลุ่มจะนำเสนอต่อทุกคน

การนำเสนอจากผู้เชี่ยวชาญ

หลังจากที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้นำเสนอการอภิปราย Prof. Kenji Watanabe จาก Nagoya Institute of Technology ได้สรุปความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ขณะที่ Mr. Mamoru Miyamoto จาก International Center for Water Hazards and Risk Management (ICHARM) ของญี่ปุ่น โดยนำเสนอเหตุการณ์ที่ครอบคลุมสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงระดับน้ำ และข้อมูลปริมาณน้ำฝน จากนั้น Mr. Shingo Suzuki จาก the National Research Institute for Earth Science and Disaster Resilience (NIED) ได้สาธิตเครื่องมือวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ โดยแสดงให้เห็นสถานการณ์สมมุติหากเกิดน้ำท่วม อาทิ ปัญหาเครือข่ายถนน ตลอดจนปัญหาในด้านทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในภาคการผลิต ทั้งนี้ได้มีการแนะนำแอปพลิเคชันต้นแบบที่แสดงระดับน้ำที่คาดการณ์ได้และสามารถเข้าถึงได้ผ่านสมาร์ทโฟน ท้ายสุด คุณเพ็ญพิชชา อารยะชูเกียรติ นิสิตปริญญาโท ในฐานะผู้ช่วยวิจัยจากหลักสูตรการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สรุปบทเรียนจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในระยะแยก และร่วมอภิปรายการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน

สำหรับช่วงปิดการประชุม Prof. Kenji Watanabe ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน และเน้นย้ำถึงบทบาทของการประชุมเชิงปฏิบัติการในฐานะนำร่อง การประชุมนี้จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทตลอดจนนักวิจัยสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูล แบ่งปันแนวคิด และอภิปรายเกี่ยวกับความเสี่ยงในการจัดการภัยพิบัติ ตลอดจนกระบวนการความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมที่รวบรวมผ่านแบบสอบถามจะนำไปสู่การปรับปรุงโครงการ ทั้งนี้ความสำเร็จของการประชุมเชิงปฏิบัติการทำหน้าที่เป็นรากฐานสำหรับการปรับปรุงในอนาคต

โครงการ SATREPS DREAM (Area-BCM) เป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างญี่ปุ่นและไทยภายใต้กรอบการทำงานเซนได เพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โครงการนี้มีเป้าหมายที่จะเปิดตัวแพลตฟอร์มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นตัวจากภัยพิบัติที่กลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศไทย และรับข้อมูลเพื่อเข้าสู่ ISO/TC292 ภายในปี 2566

 

เรื่อง โดย พงศ์นรินทร์ สุขแจ่ม
ภาพถ่าย โดย Prof. Masahiro Inoue และ กุลชาติ ประทุมชัย