โครงการ SATREPS Area-BCM ประสบความสำเร็จในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะที่สอง ด้านการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ

Browse By

 


พระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย – 25 มกราคม พ.ศ. 2567 – โครงการ SATREPS Area-BCM ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Area-BCM) ระยะที่สอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567 การประชุมเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและภัยพิบัติพร้อมการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจในพื้นที่ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยบริษัทต่าง ๆ จากนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้จัดขึ้นที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเจ้าหน้าที่บริษัทต่าง ๆ อาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันต่างๆ จากประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมสังเกตการณ์และร่วมกิจกรรม โดยมีคุณพรพิมล สมนึก นิสิตปริญญาเอก จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพิธีกรในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้

การประชุมเริ่มขึ้นโดยการสรุปจากการเรียนรู้การจัดการความเสี่ยง โดยคุณเพ็ญพิชา อารยะชูเกียรติ นิสิตและผู้ช่วยวิจัยจากสาขาวิชาการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสรุปบทเรียนที่ได้รับจากการประชุมก่อนหน้าและเข้าร่วมการหารือเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน จากนั้น ผู้เข้าร่วมถูกแบ่งเป็นกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจการจัดการบริหารความเสี่ยง Area-BCM ทั้งนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมใหม่เข้าใจ ตลอดจนผู้เข้าร่วมทุกคนเห็นภาพในทิศทางเดียวกัน


ถัดมา การนำเสนอโดย Mr. Shigeo Otani จาก Fujitsu Research Institute โดยผู้เข้าร่วมประชุมจะได้เรียนรู้พิจารณาเวลาในการตัดสินใจในแต่ละช่วงเวลา ตลอดจนข้อมูลและทรัพยากรภายนอกที่จำเป็น นอกจากนี้ Prof. Akira Kodaka จากมหาวิทยาลัยเคโอ ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเพื่อประเมินสถานการณ์ที่เป็นไปได้ โดยมีสมาชิกโครงการฯ ช่วยสนับสนุนแนะนำผู้เข้าร่วมในกิจกรรมกลุ่มโดยเน้นการเตรียมการ การเตือนภัย และการเคลื่อนย้าย
ในการทำงานร่วมกันในกลุ่มโดยเน้นการเตรียมการสู่การกู้ภัยต่อไป พบว่ามีการพูดคุยเกี่ยวกับมาตรการร่วมกันระหว่างบริษัท นิคมอุตสาหกรรม ส่วนบริหารท้องถิ่น และโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกกำหนดเพื่อรักษาทรัพยากรภายนอกที่ลดลง แต่ละกลุ่มต่างร่วมพูดคุยหารือแลกเปลี่ยนประเด็นและนำเสนอในที่ประชุม

การนำเสนอหลัก:

Prof. Kenji Watanabe จากสถาบันเทคโนโลยีนาโกยา สรุปข้อเสนอจากผู้เข้าร่วมประชุม ในขณะที่ Mr. Mamoru Miyamoto จาก ICHARM ได้บรรยายเกี่ยวข้องกับฉากสถานการณ์ทั่วไป รวมถึงระดับน้ำ ปริมาณน้ำฝน Mr. Shingo Suzuki จาก NIED ได้สาธิตเครื่องมือการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ โดยแสดงเครือข่ายถนนและความเสี่ยงของทรัพยากรมนุษย์เมื่อเกิดสถานการณ์อุทกภัย มีการนำเสนอตัวอย่างแอปพลิเคชันที่แสดงระดับน้ำที่ถูกพยากรณ์ไว้ โดยสามารถเข้าถึงผ่านสมาร์ทโฟน

สำหรับการปิดการประชุม Prof. Kenji Watanabe ได้แสดงความขอบคุณต่อผู้เข้าร่วมทุกท่านและเน้นบทบาทของการประชุมเป็นการนำไปใช้ในขั้นตอนแรก ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทและนักวิจัย การประชุมนี้เป็นโอกาสที่ดีในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และการหารือเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและกระบวนการบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมที่ได้รับผ่านแบบสอบถามจะมีส่วนสำคัญต่อการปรับปรุงโครงการ โดยความสำเร็จของการประชุมเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนากิจกรรมต่อไปโดยเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการร่วมมือเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีสำหรับทุกฝ่าย

 

โครงการ SATREPS DREAM (Area-BCM) เป็นโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศญี่ปุ่นและไทยภายใต้กรอบงาน SENDAI เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โครงการมีเป้าหมายที่จะเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนผ่านการเสริมสร้างการรับมือภัยพิบัติในนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยและเข้ามาเสนอให้ ISO/TC292 ภายในปี 2566

 

เรื่อง โดย พงศ์นรินทร์ สุขแจ่ม
ภาพถ่าย โดย  Prof. Masahiro Inoue