ร่วมเสริมพลังรับมือกับภัยพิบัติ: ประเด็นสำคัญจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ SATREPS Area-BCM ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ระยะที่สาม

Browse By

พระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย – 22 เมษายน 2567 – โครงการ SATREPS Area-BCM ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Area-BCM) ระยะที่สาม ในวันที่ 22 เมษายน 2024 วัตถุประสงค์หลักของการประชุมเชิงปฏิบัติการคือการเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงและภัยพิบัติ ควบคู่ไปกับการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจในพื้นที่ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ประกอบด้วยองค์กรต่าง ๆ งานนี้จัดขึ้นที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีบริษัทต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะเข้าร่วมงาน ตลอดจนอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันต่างๆ ในญี่ปุ่น ตลอดจนผู้สังเกตการณ์และผู้เข้าร่วมงาน โดยมี คุณพีรดา ตั้งประเสริฐ นิสิตปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการ

พิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเริ่มต้นด้วยภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความซับซ้อนของขั้นตอนของการประชุมเชิงปฏิบัติการ Area-BCM ซึ่งนำโดย Mr. Katsumi Kurita จาก Fujitsu Research Institute จากนั้น ผู้เข้าร่วมจะถูกจัดกลุ่มเพื่อเจาะลึกประเด็นที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ และปรับปรุงความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่จำเป็นของ Area-BCM

การนำเสนอกิจกรรม

กิจกรรม Common Timeline หรือการวางแผนกิจกรรมในห้วงเวลาเดียวกัน โดยเริ่มต้นด้วยการสรุปแบบย้อนหลังเกี่ยวกับมาตรการการทำงานร่วมกันของ Area-BCM จากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรก นำเสนอโดย Mr. Shigeo Otani จาก Fujitsu Research Institute ในระหว่างกิจกรรมนี้ ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมุ่งเน้นที่ขั้นตอนการเตรียมการและการเตือนภัย การอภิปรายกลุ่มมีการระบุความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นและการกำหนดกลยุทธ์เพื่อจัดการกับปัญหาภายในสวนอุตสาหกรรม

 


ต่อมา ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันทำกิจกรรมมาตรการความร่วมมือ Area-BCM ในระหว่างระยะการย้าย โดยร่วมกับระดมความคิดและแนวทางการรับมือความท้าทายด้านลอจิสติกส์ที่อาจเกิดขึ้นและการกำหนดแผนฉุกเฉินสำหรับสถานการณ์การย้ายที่ตั้งเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถสัมผัสประสบการณ์การทดลองใช้เครื่องมือช่วยในการจัดการภัยพิบัติด้านการขนส่งและเคลื่อนย้าย โดยมี Mr. Yohei Chiba และ Ms. Hiroko Muromachi จาก National Research Institute for Earth Science and Disaster Resilience (NIED) แนะนำอย่างใกล้ชิด หลังจากการสำรวจทุกขั้นตอนของความร่วมมือ Area-BCM อย่างครอบคลุม ผู้เข้าร่วมได้ร่วมมือกันเพื่อออกแบบตารางการจัดการปัญหา โดยผสมผสานข้อมูลเชิงลึกที่รวบรวมมาจากการพูดคุยระดมความเห็นครั้งก่อนๆ โดยร่วมกันสร้างกรอบความร่วมมือโดยการแบ่งรายละเอียดโครงการ และนำเสนอแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ในช่วงท้ายของการประชุม Prof. Kenji Watanabe จาก Nagoya Institute of Technology ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกคน และเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของการประชุมเชิงปฏิบัติการในฐานะโครงการนำร่องที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทและสถาบันต่าง ๆ ศาสตราจารย์วาตานาเบะยังได้กล่าวถึงการสนับสนุนโครงการ Area-BCM ที่จะเกิดขึ้นในระยะต่อไป โดยเน้นการจัดตั้งเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในการบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ ที่ประกอบด้วยสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ ทั้งนี้ Ms. Yoko Hirota ผู้แทนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ซึ่งได้ร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมพร้อมคณะ ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนสมาชิกโครงการทุกท่านที่มีส่วนในการจัดกิจกรรมการประชุม โครงการริเริ่มนี้จะเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างยั่งยืน ตลอดจนการเผยแพร่แนวคิด และการอภิปรายเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ไปจนถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ และความต่อเนื่องทางธุรกิจในอนาคต นอกจากนี้ ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมผ่านการทำแบบสอบถามจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงกลยุทธ์โครงการในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการรับประกันความสำเร็จอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่มีความหมายและยังยืน

โครงการ SATREPS DREAM (Area-BCM) เป็นโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศญี่ปุ่นและไทยภายใต้กรอบงาน SENDAI เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โครงการมีเป้าหมายที่จะเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนผ่านการเสริมสร้างการรับมือภัยพิบัติในนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยและเข้ามาเสนอให้ ISO/TC292 ภายในปี 2566

เรื่อง โดย พงศ์นรินทร์ สุขแจ่ม ภาพ โดย Prof. Masahiro Inoue